บทที่ 7
การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ
ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่วไป
หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้วงานนั้นย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
การใช้ การใช้วิธีการจัดระบบต่างๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้
ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการเมืองแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่างๆได้
1. ความหมายของการวางแผนการสอน
ไพฑูรย์
สินลารัตน์(หน้า 68) ได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง
ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล
วาสนา
เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า
การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร
เมื่อถึงเวลาจริงๆก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้
ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย
เกิดการผิดพลาดลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์
พรหมวงค์(2543. หน้า 44) เสนอไว้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอนโดยใช้ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่า
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด
เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์
2. ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี
เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด
ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ
นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้ายังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอน
และการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย
3. ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนจะต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน
ข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1) สภาพปัญหาและทรัพยากร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน
งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้ฟังแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน และสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2) การวิเคราะห์เนื้อหา โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง
ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปลีกย่อยของหน่วยใหญ่
และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง
สำหรับเนื้อหาของบทเรียนก็ต้องมีเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง
และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3) การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ
ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
4) ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือ
แก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอาจเปรียบได้ง่ายๆกับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ
โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร
การสอนก็เช่นเดียวกันผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
5) วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้
การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6) กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง
โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7) สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเช่นเดียวกัน
โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8) การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร
ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม (ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง
(พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย
(พฤติกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
4. แนวทางการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว
และการวางแผนระยะสั้น
1) การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง
ต้องใช้เวลาในการสอนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนและเป็นปี
โดยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่
เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2) การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องมีแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง
การวางแผนการสอนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่างๆกัน และอาจเรียกว่า
บันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่า หรือแผนการสอน
แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทน
ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่
เพราะสร้างความเข้าใจได้ง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว
สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่างๆ
เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้น
การกำหนดการสอนซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
คือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน
วันหยุดวันสำคัญต่างๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ
ตลอดจนการกำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม
การกำหนดการสอนเปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการสอนของผู้สอน
การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
โดยกำหนดเรื่องใดตอนใดต้องสอนก่อนหลังใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทำตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค
รายสัปดาห์ ก็สามารถทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ
หรือแผนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเขียนไว้เขียนย่อๆ หรือคร่าวๆ
มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย
บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้น
การทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปีหรือสอนตลอดภาคการเรียนว่า
จะสอนอย่างไรให้เนื้อหาต่อเวลาในการสอนสัมพันธ์กันการทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วยกัน
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. เริ่มหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนดในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่จะใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของ
แต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ตัวอย่างการกำหนดการสอน
กำหนดการสอนกลุ่มสาระภาไทย
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559
สัปดาห์ที่
วัน เดือน ปี
|
เรื่อง
|
จำนวนคาบ
|
1
19 พ.ค. 59
|
ปฐมนิเทศ
|
1
|
2-3
22-26 พ.ค. 59
|
พ่อแม่รังแกฉัน กลอนสุภาพ การอ่านออกเสียงร้อยกรอง การถอดคำประพันธ์
|
5
|
3
29-30 พ.ค. 59
|
การเขียนย่อความ
|
2
|
3-4
31 พ.ค. 59
|
เครื่องหมายวรรคตอน
|
2
|
4
1 มิ.ย. 59
|
คำอุทาน
|
1
|
4-6
2-7 มิ.ย. 59
|
พระอภัยมณี กลอนสุนทรภู่
|
6
|
6
12-14 มิ.ย. 59
|
การแต่งกลอนสุภาพ
|
3
|
7
17-20 มิ.ย. 59
|
คำราชาศัพท์
|
4
|
8
21-22 มิ.ย. 59
|
คำนาม
|
2
|
8-9
23-30 มิ.ย. 59
|
นิทานเทียบสุภาษิต โครงสี่สุภาพ การเล่านิทาน สำนวน คำพังเพย
สุภาษิต
|
6
|
9
3-7 ก.ค. 59
|
สอบกลางภาคเรียนที่ 2/2559
|
-
|
10
12-13 ก.ค. 59
|
การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
|
2
|
11
14-17 ก.ค. 59
|
คำสรรพนาม
|
2
|
11-12
18-19 ก.ค. 59
|
คำกริยา
|
2
|
12-13
20-28 ก.ค. 59
|
ข้อคิดเรื่องการบวชการแสดงความคิดเห็น
|
4
|
13
1-3 ส.ค. 59
|
การเขียนจดหมายส่วนตัว
|
3
|
14
4-7 ส.ค. 59
|
คำวิเศษณ์
|
2
|
14-15
8-16 ส.ค. 59
|
คนดีที่ไม่รู้จักสิ้นสูญ การเล่าเรื่อง การเขียนย่อความ
|
6
|
16
17-18 ส.ค. 59
|
คำบุพบท
|
2
|
16-17
21-24 ส.ค. 59
|
ตาลโตนด การเขียนคำขวัญ
|
4
|
17
25-28 ส.ค. 59
|
คำสันธาน
|
2
|
18
29 ส.ค. 59
|
บทเสภาสามัคคีเสวก กลอนเสภา
|
4
|
19
4-5 ก.ย. 59
|
ทะเลบ้า อุปมาโวหาร การเล่าประสบการณ์
|
2
|
19-20
11-15 ก.ย. 59
|
สอบปลายภาคเรียนที่ 2/2559
|
-
|
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำการสอนมีประโยชน์
ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก
ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน
สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า
ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร
เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่
การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน
การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร
ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก
เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดปรสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน
หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี
ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น
ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร
คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน
ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ
ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน
สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา
บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างขวางตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแจ่มแจ้ง
ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติม
5.
พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียน
และควรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. พิจารณาเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวิธีการสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
8. ดำเนินการวัดผลประเมินผลทุกครั้งที่ทำการสอน
ด้วยวิธีต่างๆ ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
แผนการสอนที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. มีความเหมาะสม
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียน
๒. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
๓. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา
สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ
๔. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน
พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมได้
๕. ควรมีการกำหนดกิจกรรม
และประสบการณ์ควรคำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมกาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
๑. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่สอน
๒. หัวเรื่อง
๓. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
๔. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การสอน
หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๕. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
๖. กิจกรรมการเรียนการสอน
๗. สื่อการเรียนการสอน
๘. ประเมินผล
๙. หมายเหตุ
การปรับแผน
แผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้โดยทั่วไปหรือทางกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำขึ้น
เป็นแผนการสอนกลางๆที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้น
เมื่อนำมาใช้จริงๆ ในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆเสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด
ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของท้องถิ่น
โดยผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องช่วยกันจัดทำขึ้นเพื่อให้กับวัยความต้องการและสภาพแวดล้อม
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนการสอนในที่นี้หมายถึง
การที่ผู้สอนนำแผนการสอนแกนกลางที่มีการจัดทำไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลด เพิ่ม
หรือดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนการสอน
สามารถปรับได้ตามขอบเขตของการปรับการแผนการสอนดังนี้
๑. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดผลได้
โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไป
๒. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เพียงหัวข้อหยาบๆ
ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร
เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน
และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
๓. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางการสอน
และช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐาน และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอนบางหน่วย
ผู้สอนอาจจะดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียน
๔. สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบด้วยของจริง
ขิงจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆ
ซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการสอนประเภทอื่นๆ
ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
๕. การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ
นั้นได้กำพหนดวิธีการประเมินไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี
ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกมาแนะนำปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย
วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน
รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอน
สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น ๒ ลักษณะดังนี้
๑. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
แบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบ คือ
๑.๑ แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนการสอนที่เสนอแผนโดยเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลัง
โดยไม่ต้องตีตาราง รูปแบบนี้มีข้อดีคือ สะดวกแก่ผู้สอน
เพราะไม่เสียเวลาในการตีตาราง เขียนได้ง่ายกระชับ แต่มีข้อจำกัดคือ
ยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องของแต่ละหัวข้อ
๑.๒ แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้นิยมเรียกสั้นๆว่า
แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง
และเขียนรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง
การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งจารางมีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนตามเนื้อหาสาระกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลอย่างละเอียด
๑.๓ แบบกรมวิชาการ
นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอน
ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำไปดำเนินการปรับใช้ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
ก่อนที่จะลงมือเขียนแผนการสอน
ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียดตามขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน ตามหัวข้อต่างๆ
โดยศึกษาจากกำหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้นเป็นเรื่องอะไร
ใช้เวลาสอนกี่คาบ แล้วศึกษาแผนแม่บท และคู่มือครูโดยมีขั้นตอนดังนี้
๑. ศึกษาแผนการสอนแม่บท
และปรับแผนการสอนโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อยลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหา
ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหา
และการจัดตารางแผนการสอนของแต่ละโรงเรียน
๒. ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นหรือเรื่องนั้นให้แล้ว
เข้าใจ
๓. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น
เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ ผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างไร
๔. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง
สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์หรือไม่
๕. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่
จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร ถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
๖. ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีอย่างไร
วิธีการเหล่าเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมหรือไม่
การเขียนแผนการสอน
จากองค์ประกอบของการเขียนแผน
รูปแบบของแผนการสอนและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน เราสามารถนำมาเขียนเป็นแผนการสอนระดับชั้นต่างๆ
หรือตามความต้องการตามรายละเอียดในการใช้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้
๑. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น
เมื่อกำหนดที่จะทำแผนการสอนของกลุ่มสาระหรือเนื้อหาใด ควรเขียนให้ละเอียด เช่น
กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เรื่อง
การเขียนเรียงความเป็นต้น
๒. ชื่อหน่วย
ชื่อเรื่อง เวลาและวันที่
เมื่อกำหนดสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้วให้ดูในแผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ
โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร
๓. มโนทัศน์หรือความคิดรวยยอด
ซึ่งหมายถึง สาระสำคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดกับผู้เรียนในลักษณะสั้นที่สุด
ความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับปะสบการณ์และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว
มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดนี้จะเป็นทักษะที่เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาวิชา
๔. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น
โดยทั่วไปแผนการสอนเดิมจะไม่มีการเขียนไว้
แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆ
โดยในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอน
ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณธรรม ๓๐ ข้อ
ที่ต้องการเน้นผู้เรียนทำงานร่วมกัน
๕. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่องนั้นๆแล้ว
เกิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
๖. เนื้อหา
ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้ของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆ
ที่กำหนดไว้ในหลักศตรของระดับชั้นนั้นๆ
เนื้อหาที่กำหนดไว้นี้จะเป็นเพียงหัวข้อเรื่อง หรือเค้าโครงเรื่องสั้นๆเท่านั้น
ผู้สอนจำเป็นต้องนำหัวเรื่องมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆ
๗. กิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม
เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนตามจุดประสงค์
๘. สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือวิธีการต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอน
ซึ่งสื่อนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากรู้และบางครั้งช่วยเร้าความสนใจ
ซึ่งสื่อนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากรู้และบางครั้งช่วยเร้าความสนใจ
๙. การประเมินผล
การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอน
ผู้สอนนำผลจากการวัดด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการตอบคำถาม การเข้าร่วมกิจกรรม
การสังเกตพฤติกรรม การทำแบบฝึกหัด มาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ
ที่จะทำให้ผู้สอนทราบได้ว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
๑๐. หมายเหตุ
ในแผนการสอนส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนของหมายเหตุไว้ตอนท้าย เพื่อไว้สำหรับบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสังเกตต่างๆ
จากการสอนครั้งนั้นๆ ที่นอกเหนือจากหัวข้อองค์ประกอบของแผนการสอนในส่วนต่างๆ
ที่ระบุไว้แล้ว
ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
การเขียนแผนการสอนทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สอนและการจัดการเรียนรู้ดังนี้
๑. ทำให้การสอนมีเป้าหมายที่ชัดเจน
๒. ผู้สอนได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปสอน
ทำให้รู้ล่วงหน้าและเตรียมเนื้อหาได้ถูกต้อง
๓. ทำให้การจัดกิจกรรมการสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่กำหนด
๔. ทำให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในการสอนมากขึ้น
๕. ช่วยให้ผู้สอนสามารถดำเนินงานในการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร
สรุป
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมการล่วงหน้า
เพื่อทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
และผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนเป็นอย่างดี
การวางแผนการสอนนี้สามารถทำได้ทั้งการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เอกสารหลักสูตรและการประเมิน
๕.การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนกิจกรรมให้ผู้เรียนไว้ล่วงหน้า
เสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนด
ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตร
ธรรมชาติของรายวิชา
ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้
ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ได้เข้าใจเนื้อหาสาระมากขึ้น
ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในในการจัดหน่วยการเรียนรู้
จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนจัดการเรียนรู้ย่อย
ได้ตามขั้นตอนดังนี้
จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นขั้นตอนการได้มาซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ว่าจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้เรียบร้อยก่อน
จากนั้นจึงทำวางแผนการวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้
ซึ่งขั้นตอนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มีดังนี้
แนวทางการนำเสนอของกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมในการที่สถานศึกษาจะเลือกใช้กับบริบทของสถานศึกษาดังตัวอย่างการเขียนแผนแบบย้อนกลับดังนี้
๑. ความเข้าใจที่คงทน
หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ
หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน
๒. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
๓. สาระสำคัญ
หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องหนึ่งๆ
โดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัด
๔. วัตถุประสงค์
หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัดในเรื่องนั้นๆ
๕. สาระการเรียนรู้
หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่จะทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด
ที่จะแตกออกเป็น ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
๖. สมรรถนะที่สำคัญ
หมายถึง สมรรถนะที่กระทรวงการศึกษาธิการได้กำหนดไว้ สมรรถนะ
๗. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หมายถึง คุณลักษณะ ๘
ประการที่กระทรวงศึกษากำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้
๘. ชิ้นงาน/ภาระงาน หมายถึง ชิ้นงาน/ภาระงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
๙. กิจกรรมการเรียนรู้
หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ
และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
๑๐. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ
แหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจมากขึ้น
นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง เห็นจริง
๑๑. บันทึกหลังสอน
หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยเขียนสภาพการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง
แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน
๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน ๖๗ มาตรฐาน ดังนี้
ภาษาไทย
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน
ท ๑.๑
ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร
เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑
สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ
อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน
ท ๔.๑
เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน
ท ๕.๑
เข้าใจและแสดงความคิดเห็น
วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน
ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร
เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง มีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ การฟัง
การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ
และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ
อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน
ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน
ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น
วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
คณิตศาสตร์
สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน
ค ๑.๑
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน
ค ๑.๒
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง
ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน
ค ๑.๓
ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๑.๔
เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน
ค ๒.๑
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน
ค ๒.๒
แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑
อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค ๓.๒
ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
(spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต
(geometric model) ในการแก้ปัญหา
สาระที่ ๔ พีชคณิต
มาตรฐาน
ค ๔.๑
เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค ๔.๒
ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ
และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์(mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค ๕.๒
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค ๕.๓
ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ ๖ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร
การสื่อความหมาย คณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น
ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์
สาระที่ ๑ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน
ว ๑.๑
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง
ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน
ว ๑.๒
เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๒ : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน
ว ๒.๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๒
เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น
ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ ๓ : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน
ว ๓.๑ เข้าใจสมบัติของสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๓.๒
เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลายการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่
๔ :
แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน
ว ๔.๑
เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง
และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว ๔.๒
เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่
๕ :
พลังงาน
มาตรฐาน
ว ๕.๑
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต
การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน
ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่
๖ :
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน
ว ๖.๑ เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ
ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่
๗ :
ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน
ว ๗.๑
เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน
ว ๗.๒ เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ ๘ : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน
ว ๘.๑ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ
เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา
ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน
ส 1.1
รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา
หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง
ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน
ส 1.2
เข้าใจ
ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน
ส 2.1
เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี
มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
มาตรฐาน
ส 2.2
เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น
ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้
ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2
เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1
เข้าใจความหมาย
ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาตร์
วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2
เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3
เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย
มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส 5.1
เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล
ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2
เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่
ก่อให้เกิด การสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน
พ 1.1
เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน
พ 2.1
เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา
และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
การเล่นเกม กีฬาไทย กีฬาสากล
มาตรฐาน
พ 3.1
เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย
การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน
พ 3.2
รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา
ปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณ ใน การแข่งขัน
และชื่นชมในสุนทรียภาพของ การกีฬา
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ
และการป้องกันโรค
มาตรฐาน
พ 4.1
เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ
การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน
พ 5.1
ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ
การใช้ยา
สารเสพติด และความรุนแรง
ศิลปะ
สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ ๑.๑
สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ
และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์
ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๑.๒
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ ๒ ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑
เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์
วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ
ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๒.๒
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ ๓.๑
เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์
วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ
ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๓.๒
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ
ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึก
ในการใช้พลังงาน
ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ ๒ การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง ๒.๑
เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ
ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม
สิ่งแวดล้อม
และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
สาระที่ ๓ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง ๓.๑
เข้าใจ
เห็นคุณค่า
และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน
และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และมีคุณธรรม
สาระที่ ๔ การอาชีพ
มาตรฐาน ง ๔.๑
เข้าใจ
มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑
เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒
มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓
นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด
และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
โดยการพูดและการเขียน
สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒
เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย
และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑
ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑
ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒
ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ
พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม
มีระเบียบวินัย
ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการกระทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถจัดการตนเองได้
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
๑. กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ
คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
2. กิจกรรมนักเรียน
เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัยความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดีความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา
การตัดสินใจสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่
การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน
เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
๒.๑ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์
และนักศึกษาวิชาทหาร
๒.๒ กิจกรรมชุมนุม ชมรม
3.
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน
และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร
เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม
ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น
กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
สรุป
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด
เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้ถูกต้อง และตรงตามจุดประสงค์
การวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อกาทางออกที่ดีที่สุด
ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีการจัดเตรียมเนื้อหา
โดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ
ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนซึ่งได้แก่ สภาพปัญหาและทรัพยากร
การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ผู้เรียน ความคิดรวบยอด วัตถุประสงค์
กิจกรรมการเรียน สื่อการสอน และการประเมินผล การวางแผนการสอน สามารถทำได้ ๒
แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น