
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
สัปดาห์ที่ 9
กลยุทธ์การเรียนการสอน
กลยุทธ์การเรียนการสอนในการออกแบบการเรียนการสอน
ไม่ว่าจะออกแบบตามโมเดลของนักการศึกษาคนใดสิ่งหนึ่งที่จะต้องพิจารณาก็คือ
กลยุทธ์การเรียนการสอน(instructional strategies) คำว่า
กลยุทธ์เป็นการรวบรวมวิธีการ (methods) วิธีปฏิบัติ(procedures) และเทคนิคอย่างกว้างๆ ซึ่งครูใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชา
ให้กับผู้เรียนและนำไปสู่ผลที่ได้รับที่มีประสิทธิภาพโดยปกติแล้วกลยุทธ์รวมถึงวิธีปฏิบัติ
หรือเทคนิคหลายๆอย่าง
กลยุทธ์การเรียนการสอนทั่วไป
คือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การค้นคว้าในห้องสมุด การเรียนการสอนที่ใช้สื่อ (mediated
instruction) การทำงานในห้องปฏิบัติการ การฝึกหัด (coaching) การติว (tutoring) วิธีอุปนัยและนิรนัยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป การแก้ปัญหา และการตั้งคำถาม อาจเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า
ครูเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า ครูเป็นผู้มีกลยุทธ์การสอนของตนเอง
เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ
คือ
1.สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
2.ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
3.ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
4.ทฤษฎีการเรียนการสอน
5.หลักการเรียนรู้
6.การวิจัยการเรียนรู้
7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.
สภาวการณ์การเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
เมื่อมีการเขียน
การจัดลำดับจุดประสงค์ และการสร้างแบบทดสอบแล้ว
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็พร้อมที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่างๆ
ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ ไม่ว่าการเรียนการสอนจะเป็นรูปแบบใด
ก็จะมีชุดของสภาวการณ์โดยทั่วๆไปที่ใช้กับทุกเหตุการณ์การเรียนรู้
สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
สภาวการณ์เดียวกันนี้จะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการเรียนด้วยตนเองหรือการเรียนเป็นกลุ่ม
และไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวิธีการเรียนการสอนใด
เช่นการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาพยนตร์ สถานการณ์จำลอง ฯลฯ
2. ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
การพัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่ ละเลย
และเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้ว
ทฤษฎีการสอนเกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยา
โฮเจท ได้โต้แย้ง
คัดค้าน ต่อต้านพัฒนาการของวิทยาศาสตร์การเรียนรู้
โดยโต้แย้งว่าในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสอนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิทยาศาสตร์การสอนโดยเห็นว่าไม่สมควรจะให้ความเท่าเทียมกันในความพยายามเกี่ยวกับกิจกรรม
กับความพยายามที่จะขจัด ปรากฏการณ์เกี่ยวกับนิสัย และคุณลักษณะทางศิลปะ การวาดภาพ
การเรียบเรียง และแม้แต่การเขียนจดหมาย และการสนทนา
เป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาและถูกกฎหมาย
และสามารถเป็นเนื้อหาวิชาที่จะวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้
จิตกรแม้จะมีศิลปะอยู่ในงานที่ทำ บ่อยครั้งที่แสดงให้เห็นจากการแสดงออกของผู้เรียนว่าในงานศิลปะของนักเรียนจะมีเรื่องทฤษฎีของสี
สัดส่วนที่เห็น ความสมดุลหรือนามธรรมรวมอยู่ด้วย
จิตรกรผู้เต็มไปด้วยความเป็นจิตรกรอย่างถูกต้องไม่ได้เป็นโดยอัตโนมัติ
ยังคงต้องการขอบเขตที่กว้างขวางสำหรับความฉลาด และความเป็นส่วนบุคคล
กระบวนการและผลผลิตของจิตรกรไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้คงแก่เรียน
การสอนก็เช่นเดียวกัน
แม้ว่าจะต้องการความเป็นศิลปะ แต่ก็สามารถที่จะ
ได้รับการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วย พลังในการอธิบาย ทำนาย และควบคุม
เป็นผลจากการพินิจวิเคราะห์ ไม่ใช่ผลจากเครื่องจักรการสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องขึ้นอยู่กับว่าส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไร นั่นคือ
ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่นๆ ที่อยู่ในวงของการศึกษา
3.ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
ทฤษฎีการเรียนการสอน (theory
of instruction) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ
ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร
ด้วยการปรับปรุง แทนที่จะพรรณนาการเรียนรู้
ทุกทฤษฎีจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
สำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญ สี่ประการ คือ
ประการแรก
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด หรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษ
ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและต่อสิ่งต่างๆ
ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาล
ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าเรียน
ประการที่สอง
ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้นความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังในการทำสารสนเทศให้มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่
ที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้
มีอยู่เสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสวรรค์ของผู้เรียนด้วย
ประการที่สาม
ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
ตัวอย่างเช่น ผู้สอนคนหนึ่งปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่
เขาทำอย่างไร
เขานำเสนอสาระที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายเมื่อต้องเผชิญกับการนำเสนอกฎนี้อีกครั้งในภายหลัง
ประการสุดท้าย
ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอน
ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้มีจุดที่ดีกว่าที่จะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอก (extrinsic
rewards) เช่นคำยกย่องสรรเสริญจากครู ไปเป็นรางวัลภายใน (intrinsic
rewards) โดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง
4.ทฤษฎีการเรียนการสอน
การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัตบุคคลเรียนรู้อย่างไร
คำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้
ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น
จากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยม
เป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้
และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมาย
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงสี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ
4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
กาเย่ (Gagne,1982) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เขาได้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้
กาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979) ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดยพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้ดั้งเดิม เช่น
การเสริมแรง (reinforcement) การต่อเนื่อง(contiguity) และการปฏิบัติ (exercise) เพราะกาเย่และบริกส์คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเกินไปที่จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนโดยยืนยันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ (Verbalinformation) ทักษะเชาวน์ปัญญา (intellectual
skill) และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ
กาเย่ได้ระบุผลที่รับจากการเรียนรู้แต่ละประเภทที่ต้องการสภาวการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำหรับการเรียนรู้การคงความจำ
และการถ่ายโอนการเรียนรู้ในขีดสูงสุด
4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท (merril,
1984 : reigeluth, 1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ (mecro-strategies) สำหรับการจัดการเรียนการสอน
เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชา
และลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ
และการระลึก (จำได้)สารสนเทศข้อความจริงต่างๆได้โดยทั่วไปแล้ว
ทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่า
เป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กทีละน้อย
หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
ขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.การเลือกปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างอยู่
4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท
4.3 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
เคส (Case,
1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า
ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาวน์ปัญญา
ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์
(รวมถึงการเรียนการสอน)
และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
ขั้นตอนการออกแบบของเคส
เกี่ยวกับการระบุเป้าประสงค์ของพนักงานที่ปฏิบัติ (เรียนรู้) จัดลำดับขั้นปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เรียนให้ไปถึงเป้าประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของผู้เรียน
(หรือความคิดที่รายงาน) กับเอกัสบุคคลที่มีทักษะประเมินระดับงานของนักเรียน
(โดยตั้งคำถามทางคลินิก) การออกแบบฝึกหัดเพื่อสาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษา
(ถ้าจำเป็น) และอธิบายว่าทำไมกลยุทธ์ที่ถูกต้องจึงได้ผลดีกว่า
และสุดท้ายนำเสนอตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้กลยุทธ์ใหม่
4.4 ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา (Landa,
1974) เป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา
โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน
ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีที่มีอยู่ในคู่มือการอบรม
ในการใช้วิธีการออกแบบของอันดา
เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ค่อนก่อนหน้านั้น
ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง
5.หลักการเรียนรู้
การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์
และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆเข้ากับการเรียนรู้เดิม
การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ
ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ
หรือวิธีการไปสู่นักเรียนข้อกำหนดของการเสนอจะมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
6.การวิจัยการเรียนรู้
การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่
กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคำถามลึกๆ
เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่า
ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการสื่อสารการเรียนรู้ คือ การทดลอง
ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ
คือ ประการแรก ความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และ
ประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงาน
การเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้
คือ
1.แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2.เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3.ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4.ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5.การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นการเรียนรู้มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล
ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข
ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านสมดุล
หรืออีกนัยหนึ่งว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หมายถึงการสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต
เหมาะกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน
จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้เช่นกันว่า
หมายถึงผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนอย่างมีความสุข
9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนรู้หลากหลาย
เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญา
การเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์วิธีการจัดการเรียนการสอน ที่หลากหลาย
เช่น เกมการศึกษาสถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมุติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป
ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์
สรุป:
สรุป: https://drive.google.com/open?id=1ymXZnOUlgCce2ueIq8KsKAkk38AhDJiy
สรุป:
สรุป: https://drive.google.com/open?id=1ymXZnOUlgCce2ueIq8KsKAkk38AhDJiy
ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
สัปดาห์ที่ 16
โหลดไฟล์ได้ที่นี่: ชุดที่ 1 : https://drive.google.com/open?id=1uJ-cPqKe1yB0itp--frB4CY_oXV8I9lH ชุดที่ 2 : https://drive.goo...

-
บทที่ 7 การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำ...
-
บทที่ 6 การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน บทบาทของผู้ออกแบบ ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในระหว่า...
-
บทที่ 5 ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึ...